ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Leopard lily - Black Berry Lily, Leopard Flower [1]
- Leopard lily - Black Berry Lily, Leopard Flower [1]
Iris domestica (L.) Goldblatt (Syn. Belamcanda chinensis (L.) DC.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Iridaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Iris domestica (L.) Goldblatt (Syn. Belamcanda chinensis (L.) DC.)
 
  ชื่อไทย ว่านหางช้าง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ตื่นเจะ(ม้ง), ว่านหางช้าง(คนเมือง) - ว่านมีดยับ (ภาคเหนือ) [7]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก อายุหลายปี มีลำต้นใต้ดินและมีรากมาก ลำต้นที่อยู่เหนือดินตั้งตรง สูง 1 – 1.5 ม.
ใบ มักจะออกหนาแน่นอยู่ส่วนโคนของลำต้น เรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ใบที่อยู่ส่วนบนของลำต้นมักจะมีขนาดเล็กและเรียงห่าง ๆ แผ่นใบรูปดาบ กว้าง 2 – 4.5 ซม. ยาว 20 – 60 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบ ขอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อ แกนช่อแตกแขนงดอกออกที่ปลายแขนง 6 – 12 ดอก ก้านดอกยาว 2 – 4 ซม. ตรง หรือ โค้งเล็กน้อย เมื่อดอกร่วงแล้วก้านดอกยังคงติดอยู่ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 6 กลีบ ยาว 2.5 – 3.5 ซม. เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ กลีบชั้นในมีขนาดเล็กกว่ากลีบชั้นนอกเล็กน้อย เมื่อดอกบานกลีบดอกกางออก โคนกลีบสอบแคบจนเป็นก้าน ด้านนอกสีเหลือง ขอบกลีบ และด้านในสีส้ม มีจุดประสีแดงเข้ม กลีบชั้นนอกมีต่อม เป็นร่องยาว 1 ต่อม สีแดงเข้ม เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูรูปยาวแคบ รังไข่มี 3 พู รูปยาวปลายใหญ่กว่าโคน เกลี้ยง ด้านเกสรเพศเมียยาวโค้งแต่สั้นกว่ากลีบดอก ปลายเกสรเพศเมียมี 3 อัน ติดกัน
ผล รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เป็นพูลึก 3 พู เปลือกบาง แก่แตกตามยาวเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดพูละ 3 – 8 เมล็ด รูปเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. สีดำ ผิวเป็นมัน [7]
 
  ใบ ใบ มักจะออกหนาแน่นอยู่ส่วนโคนของลำต้น เรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ใบที่อยู่ส่วนบนของลำต้นมักจะมีขนาดเล็กและเรียงห่าง ๆ แผ่นใบรูปดาบ กว้าง 2 – 4.5 ซม. ยาว 20 – 60 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบ ขอบใบเรียบ
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อ แกนช่อแตกแขนงดอกออกที่ปลายแขนง 6 – 12 ดอก ก้านดอกยาว 2 – 4 ซม. ตรง หรือ โค้งเล็กน้อย เมื่อดอกร่วงแล้วก้านดอกยังคงติดอยู่ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ปลายแยกเป็นกลีบรูปขอบขนาน 6 กลีบ ยาว 2.5 – 3.5 ซม. เรียงเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ กลีบชั้นในมีขนาดเล็กกว่ากลีบชั้นนอกเล็กน้อย เมื่อดอกบานกลีบดอกกางออก โคนกลีบสอบแคบจนเป็นก้าน ด้านนอกสีเหลือง ขอบกลีบ และด้านในสีส้ม มีจุดประสีแดงเข้ม กลีบชั้นนอกมีต่อม เป็นร่องยาว 1 ต่อม สีแดงเข้ม เกสรเพศผู้มี 3 อัน ก้านเกสรไม่ติดกัน อับเรณูรูปยาวแคบ รังไข่มี 3 พู รูปยาวปลายใหญ่กว่าโคน เกลี้ยง ด้านเกสรเพศเมียยาวโค้งแต่สั้นกว่ากลีบดอก ปลายเกสรเพศเมียมี 3 อัน ติดกัน
 
  ผล ผล รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เป็นพูลึก 3 พู เปลือกบาง แก่แตกตามยาวเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดพูละ 3 – 8 เมล็ด รูปเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. สีดำ ผิวเป็นมัน
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องผูก อาหารไม่ย่อย(ม้ง)
- ต้น ปลูกประดับเพื่อแสดงถึงความมีสง่าราศรี และป้องกันสิ่ง อัปมงคลเข้าบ้าน(คนเมือง)
- ใบ โดยนำเอาใบมา 3 ใบ แล้วปรุงเป็นยาต้ม ใช้เป็นยาระบายอุจจาระและรักษาระดูพิการของผู้หญิงได้ดี
เหง้า ใช้แห้งประมาณ 5-10 กรัม นำไปต้มหรือบดเป็นผงกินหรือใช้สด โดยการตำคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้สำหรับภายนอก โดยการนำไปบดเป็นผงเป่าคอ หรือใช้ผสมทา เหง้าจะมีรสขม และเย็นจัด แต่มีพิษ ใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ดังนี้คือ
1. รักษาโรคคางทูม โดยใช้เหง้าสดประมาณ 10-15 กรัม นำไปต้มน้ำกินหลังอาหารวันละ 2 เวลา
2. รักษาอาการท้องมาน โดยใช้เหง้าสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำกินบ่อยๆ
3. รักษาอาการไอ หรืออาการหอบหืด ใช้แหง้าแห้งประมาณ 6 กรัม มั่วอึ้งแห้งประมาณ 3 กรัม ขิงแห้งประมาณ 3 กรัม ใส่ยชินแห้งประมาณ 2 กรัม โงวบี่จี้แห้งประมาณ 2 กรัม จี๋อ้วงแห้ง 10 กรัม ค่วงตังฮวยแห้งอีก 6 กรัม จี้ปั้วแห่แห้งอีก 10 กรัม และลูกพรุนจีน 4 ผล นำมาต้มรวมกันเอาแต่น้ำกิน
4. รักษาอาการเจ็บคอ โดยใช้เหง้าสดประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำสมสายชู ตำคั้นเอาน้ำชุบสำลีอมกลืนแต่น้ำช้าๆ
5. รักษาฝีที่เต้านมบวมมีหนองในระยะเริ่มแรก ให้ใช้เหง้าแห้ง 1 เหง้า รากดอกไม้จีนประมาณ 10 กรัม นำมารวมกันบดให้เป็นผง แล้วผสมกับน้ำผึ้งกิน
6. รักษาฝีประคำร้อย ให้ใช้เหง้าแห้ง เหลี่ยงเคี้ยว แห่โกวเช่าแห้ง อย่างละเท่าๆ กัน นำไปบดเป็นผง ผสมทำเป็นยาเม็ด กินครั้งละ 6 กรัม หลังอาหาร
7. รักษาอาการผื่นคันมีน้ำเหลืองที่ขาจากการทำนา ใช้เหง้าแห้ง ใส่น้ำแล้วต้มให้เดือดผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วทาตามบริเวณที่เป็น ทาวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง